นางสาวชลธิรา คนซื่อ
ตำแหน่ง/สังกัด นักทรัพยากรบุคลปฏิบัติการ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี แก้ปัญหาเกี่ยวกับ
การเผยแพร่องค์ความรู้ การบริหารจัดการข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
1.ส่วนนำ
เรื่องเล่า
บล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ เช่น เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์" บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ความรู้ การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ข่าวสาร เหตุการณ์ ปัจจุบัน องค์ความรู้ต่างๆ
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี ได้มีการให้ความสำคัญด้านการจัดการความรู้ในหน่วยงาน แต่การจะจัดการความรู้ให้ประสบความสำเร็จนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การบรรทุกความรู้ต่างๆ ลงในแผ่นกระดาษเพียงเท่านั้น การเผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่วงกว้างเพื่อการใช้ประโยชน์ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ดังนั้น บล็อก (blog) จึงเป็นช่องทางอีกช่องทางหนึ่งที่จะสามารถเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ และยังสามารถตอบข้อซักถามระหว่างผู้เขียน บล็อก (blog) และผู้เข้ามาอ่านได้อย่างรวดเร็วและทันสมัยอีกด้วย
2.ส่วนขยาย
ขุมความรู้
วิธีสร้างบล็อก (Blog) โดยใช้ผู้ให้บริการ www.blogspot.com
1. วิธีการสร้างบล็อก
1.1 จะต้องมี E-mail ซึ่งใช้ในการล๊อกอิน
1.2 บล็อกสปอต (Blogspot ) นั้นเป็นของ google ที่สามารถให้คนทั่วไปได้เข้าถึงการ เขียนบล็อกต่างๆ หรือการเขียนเว็บแบบง่ายๆนั้นเอง
1.3 ให้เราทำการพิมพ์ในช่อง URL ด้านบนว่า www.blogspot.com หรือการเข้าสู่เว็บ blogspot นั้นเอง
1.4 ก็จะได้หน้าตาเป็นแบบนี้ให้เราทำการล๊อกอินเข้าไป โดยใช้ Gmail ของเรา
1.5 พอทำการล๊อกอินเสร็จก็จะได้หน้าที่ให้ทำการสมัครบล็อกใหม่ ให้เรากรอกหัวข้อของบล็อกที่เราจะเขียน ชื่อบล็อก และเลือกแม่แบบ (Theme) ของบล็อก
1.6 คลิกตรงข้อความ “สร้างบล็อก”
2. การเขียนบทความเผยแพร่ในบล็อก
2.1 เมื่อเลื่อกปรากฏหน้าต่างที่ให้เราคลิกเลือกเพิ่มบทความใหม่ ให้เราทำการเขียนบล๊อก หรือบทความที่เราต้องการได้เลย
2.2 ในช่องโพสต์ด้านบนตัวหนังสือสีส้ม ให้เราทำการเขียนหัวข้อหรือหัวเรื่องของบทความที่เราต้องการเขียน ซึ่งการเขียนบทความ ข้อมูล หรือบล็อกนั้นสามารถทำการเขียนได้ใช้ กระดาษ ตรงกลางหน้า เมื่อเขียนเสร็จให้คลิกที่คำว่า “เผยแพร่" เพื่อทำการเผยแพร่บทความที่สามารถให้ผู้อื่นได้อ่าน หรือเข้าชมได้
3. เทคนิคเพิ่มเติมในการเขียนบล็อก
3.1 ด้านขวามือจะมีป้ายกำกับ ให้เราทำการคลิกเพื่อพิมพ์ คำ ที่ผู้อื่นสามารถค้นบทความของเราเจอได้
3.2 การใส่ลิงค์ให้ทำการคลิกที่ ลิงค์ ในแทบเครื่องมือ เพื่อทำการใส่ URL ที่เราต้องการลิงค์
3.3 การใส่รูปภาพ สามารถทำได้โดยการคลิกที่ แทรกรูปภาพในแทบเครื่องมือ แล้วทำการเลือกไฟล์เพื่ออัพโหลดรูปภาพ แล้วคลิกรูปภาพที่ต้องการเลือก แล้วกดเพิ่มรายการที่เลือก
3.ส่วนสรุป
แก่นความรู้
1. ความรู้เบื้องต้นในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
2. เทคนิคในการใส่ลูกเล่นลงไปในบทความเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน
3. การใส่ “คำอธิบายการค้นหา” จะช่วยให้ผู้ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตสามารถค้นเจอข้อมูลที่เราเขียนไว้ในบล็อกได้ผ่าน Google search
ข้อเสนอแนะ/ข้อพึงระวัง
1. ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เช่น มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) “
2. การจะนำองค์ความรู้(KM) ของผู้อื่นมาเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตนั้นต้องขออนุญาตกับเจ้าขององค์ความรู้เสียก่อน และหากมีการนำองค์ความรู้ของผู้อื่นมาเผยแพร่ต้องมีการให้เครดิตหรือเขียนอ้างอิงค์ถึงเจ้าของข้อมูลเสมอ