วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเอาชนะอาการตื่นเวที



เจ้าของความรู้  นางสาวมลฤดี อุปไชย
ตำแหน่ง/สังกัด  นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ  
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ  การลดความประหม่าสร้างความมั่นใจ เสริมบุคลิกภาพ และประสบความสำเร็จในการพูด
          1.ส่วนนำ
เรื่องเล่า
ถามว่าการพูดจำเป็นต้องเกาะตำราไหม?? ก็ต้องตอบว่า ไม่จำเป็นต้องเกาะตำราเสมอไปหากมีมืออาชีพแนะนำแล้วเราจำได้ เนื่องจากตำราการพูดต่างๆ ถือเป็นการเรียนลัด โดยเราไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลา เพราะตำราการพูดเขารวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลายเอาไว้ให้เราศึกษา แต่โปรดจำไว้ว่าตำรามีการเปลี่ยนแปลงตามโลกที่หมุนไปอยู่เสมอ เมื่อยี่สิบปีที่แล้วกับปัจจุบันย่อมแตกต่างกันในรายละเอียด ส่วนหลักการพูดที่สำคัญๆ นั้นไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงหรือแทบไม่เปลี่ยนแปลงเลย ถ้าเราสังเกตุตำรากี่เล่มไม่ว่าจะเป็นการแปลจากภาษาต่างประเทศ หรือเขียนโดยคนไทยก็ตามจะเห็นว่า มีหลักคล้ายๆ กันสรุปได้ไม่กี่บรรทัด ตั้งแต่การเตรียมการพูด หลักการพูด เนื้อหาการพูด วิธีเทคนิคการพูด แต่หนังสือที่เล่มหนาๆ ก็มาจากประสบการณ์เป็นส่วนใหญ่    เชื่อว่าส่งที่กล่าวไม่น่ามีปัญหาสำหรับพวกเราเท่าไร แต่ที่มีปัญหา ทำอย่างไรจึงจะหายประหม่าตื่นเวที ทำอย่างไรเมื่อหายตื่นเต้นแล้วจึงจะพูดได้ดี ประทับใจเป็นที่ยอมรับ ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จจากการพูด
2.ส่วนขยาย
   ขุมความรู้ ในการระงับอาการตื่นเวที
        1. สูดลมแรงๆ ลึกๆ หลายๆ ครั้ง (แต่อย่าให้เสียงดังจนน่าเกลียด) อันนี้ช่วยได้กรณีที่มีอาการสั่นมากๆ มือเย็น หัวใจเต้นแรงถี่ๆ จนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เพราะอาการเช่นเกิดจากร่างกายขาดออกซิเจน ในเมื่อเราควบคุมอะไรไม่ได้แต่เราสามารถควบคุมลมหายใจได้ เมื่อเราสูดลมเข้าไปร่างกายจะร้อนขึ้น อาการมือสั่น ตัวสั่น ตัวเย็น คอแห้ง จะลดลงทันทีเพราะมันเป็นอาการทางกาย เมื่อเราควบคุมทางกายได้ก็ค่อยๆ ควบคุมทางใจซึ่งจะกล่าวต่อไป
                  2. แอบสร้างความเจ็บปวดให้ตนเอง ท่านอาจตกใจคิดว่าซาดิส ที่จริงไม่ใช่ เวลาที่เราตื่นเต้นมากๆ อาการปั่นป่วนทางกายมันควบคุมไม่ค่อยได้ เช่น ปวดท้อง จะอาเจียน หน้าอมทุกข์ ที่สำคัญคือ มือสั่น ขาสั่น ปากสั่น เสียงสั่น ก่อนขึ้นเวทีหยิกเล็บตัวเองแรงๆ เอาถึงขั้นร้องจ๊ากได้ยิ่งดี อันนี้ช่วยได้จริงๆ  แต่เป็นช่วยแค่ผ่อนหนักเป็นเบา
       3. ปรับจิตใจ คิดปลุกใจแบบนักยกน้ำหนัก "สู้โว๊ย!" หรือแบบทหาร "ตายเป็นตาย"  หรือ "สู้ตาย"  หรือคิดในแง่ดีว่า "หลังการพูดฉันมีชีวิตอยู่ต่อแน่นอนโว๊ย"
      4. ไปทำความคุ้นเคยกับสถานที่จริง อันนี้สำคัญมาก ความคุ้นเคยจะช่วยให้จิตใจเรามีอัตโนมัติว่า "ของเรา เรารู้มากกว่า เราเก่ากว่า ถิ่นของเรา" อันนี้จะช่วยได้
      5. เตรียมการพูดให้พร้อม อันนี้พวกเราทราบดีไม่ต้องแน่นำ ทำให้เรามีจิตอัตโนมัติว่า "อยากพูด" ยิ่งเราเตรียมมามาก มีข้อมูลดีๆ มีลูกเล่นดี จะทำให้เรามั่นใจอยากพูดมากขึ้น

3.ส่วนสรุป
   แก่นความรู้
                วิธีตามตำราที่กล่าวมามันเทียบช่วยอะไรไม่ได้เลย แต่เมื่อมันหนีการพูดไม่ได้มันก็ต้องสู้เหมือน      
"สุนัขจนตรอก" คิดดูก็แล้วกัน อาการสุนัขของมันเป็นอย่างไร กลัวสุดขีดแต่หนีไม่ได้ ไม่สู้ก็ตาย ถ้าสู้ก็ตายต้องตาย แต่มันก็มีโอกาสรอดมากกว่าไม่สู้ แต่ส่วนใหญ่รอด เพราะพลังความกลัวสุดขีดนี่มันมีมหาศาล ในเมื่อหนีไม่ได้ก็มีวิธีการที่ต้องเตรียมพร้อมและเอาชนะอาการตื่นเวทีให้ได้
  ข้อเสนอแนะ/ข้อพึงระวัง
1.    อารมณ์ขันไม่ใช่แก่นการพูด ควรวางเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดแทรกอารมณ์ขันเพื่อสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังสามารถรับข้อมูลโดยไม่รู้สึกเบื่อ
2.      เตรียมเนื้อหาให้พร้อม ฝึกพูดหลายหลายๆรอบจนกว่าจะมีความมั่นใจขึ้น

         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น