วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ชื่อความรู้ ติดอากรแสตมป์อย่างไรให้ถูกต้อง .



เจ้าของความรู้   นางสาวเนตรทราย  สมถะธัญกรณ์            .
ตำแหน่ง/สังกัด  เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน                    .
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ   การติดอากรแสตมป์ในสัญญาจ้าง        .
เรื่องเล่า....
1. ส่วนนำ (เหตุการณ์นั้นมีความเป็นมาอย่างไร)
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุ ซี่งมีจัดทำสัญญาจ้างปรับปรุงหลังคาอาคารอำนวยการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 มีปัญหาและคำถามเกี่ยวกับการติดอากรแสตมป์ ดังนี้
- ทำไมต้องติดอากรแสตมป์ ไม่ติดได้หรือไม่
- การติดอากรแสตมป์ ควรติดตรงไหนของสัญญาจ้าง แต่ละสัญญาควรติดจำนวนเท่าไร
- วงเงินเท่าไรถึงการติดอากรแสตมป์ หรือการชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน
2. กระบวนการ/วิธีการ/เทคนิค/ข้อพึงระวังที่ใช้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน
ข้าพเจ้าได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลในการติดอากรแสตมป์ที่ถูกต้อง ดังนี้
- ตราสารใด ไม่ติดอากรแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีก หรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
- การติดอากรแสตมป์ ควรติดหน้าที่มียอดเงินที่ได้ตกลงจ้าง ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท ให้คู่ฉบับติดอากร 1 บาท ถ้าต้นฉบับเสียอากรเกิน 5 บาท ให้คู่ฉบับติดอากร 5 บาท และต้องขีดฆ่าอากรแสตมป์ โดยปกติผู้รับจ้างจะเป็นผู้ขีดฆ่าอากรแสตมป์  แต่ทั้งนี้หน่วยงานผู้ว่าจ้างก็สามารถขีดฆ่าอากรแสตมป์แทนได้เช่นกัน  ซึ่งการขีดฆ่านั้น  เพื่อมิให้สามารถใช้แสตมป์ได้อีก โดยการขีดฆ่านั้นจะกระทำด้วยวิธีลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนอากรแสตมป์  หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าอากรแสตมป์ที่ติดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี
- การติดอากรแสตมป์ กรณีวงเงินสัญญาจ้างต่ำกว่า 200,000 บาท หรือการชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์โดยต้องนำตราสารมาสลักหลังกรณีวงเงินตามสัญญาจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป
3. ผลของการแก้ไขปัญหา/พัฒนา
เจ้าหน้าพัสดุมีความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

4. ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์   ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี โทร.0-3635-7321

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น