เจ้าของความรู้ นายเดชฤทธิ์ วงษ์ภูธร
ตำแหน่ง/สังกัด เจ้าพนักงานโสตทัศนศึกษาปฏิบัติงาน
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี
แก้ปัญหาเกี่ยวกับ ต้องการถ่ายภาพเพื่อนำเสนอในงานพัฒนาชุมชน
เรื่องเล่า
1. ความเป็นมา
ปัจจุบันมือถือ Smart Phone เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุกคนมาก
ก็เพราะว่า
Smart Phone มีความสามารถในการทำงาน
ช่วยให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกสบายในการทำงาน หรือบางคนก็ใช้ Smart Phone ในการถ่ายภาพเพื่อต้องการเก็บภาพไว้ หรือถ่ายรูปตัวเอง
และยังมีการถ่ายภาพเพื่อนำไปใช้งานอื่นๆ เช่นการนำไปเสนอผลงาน ในการนี้ขอเสนอ
เทคนิคการถ่ายภาพด้วย Smart Phone ให้ได้ภาพที่ต้องการ
โดยการนำเสนอเป็นเทคนิคเพื่อการถ่ายภาพให้ได้ภาพ
2. เทคนิคการถ่ายภาพด้วยมือถือสมาร์ทโฟน
1.ช่วงเวลานาทีทอง บางคนพยายามจะถ่ายภาพช่วงกลางวันที่แดดจัดๆ และเกิดความสงสัยมาตลอดว่า ทำไมภาพที่ถ่ายออกมาดูแข็งๆ แสงไม่สวยเลย ดูภาพไม่มีชีวิตชีวา ให้ลองเปลี่ยนเวลาถ่ายรูปโดยไปถ่ายช่วงเวลาก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่าตอนเย็นนั่นแหละ ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คือราว ๆ 5 โมงเย็น ช่วงเวลานี้ ถ้าเป็นวันที่มีแดด แสงแดดจะนุ่มเนียนตามากกว่าเวลาอื่นๆ และเมื่อเราถ่ายรูปออกมา ภาพจะออกโทนเหลืองๆ แดงๆ คอนทราสของภาพก็จะสวยงามลงตัว เราเรียกเวลาช่วงนี้ว่า เวลาทอง Golden moment
2. ถ่ายช่วงทไวไลท์ ทไวไลท์คืออะไร ? มันคือช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซักพักนึง ถ้าเป็นในประเทศไทย ก็อยู่ที่ราว 15-20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ตกนั่นเอง เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราดูรูปของช่างภาพอาชีพหลายคน ท้องฟ้าในรูปมันเป็นสีฟ้า น้ำเงินสดใส แต่รูปของเราท้องฟ้ากลับดำมืด ทั้งๆ ที่เป็นกลางคืนเหมือนกัน คำตอบคือ เพราะเขาถ่ายในช่วงทไวไลท์นี่แหละ ในช่วงเวลาดังกล่าวสมดุลระหว่างแสงบนท้องฟ้าและแสงไฟในเมืองจะพอดี ทำให้เป็นช่วงที่ถ่ายได้สีสันสวยงามมากที่สุดของวัน ซึ่งช่วงดีที่สุดของทไวไลท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสว่างของเมืองนั้นๆด้วย ฉะนั้นถ้าอยากถ่ายไฟเมืองแบบสวย ๆ ลองรอหลังพระอาทิตย์ตกดู พอเมืองเริ่มเปิดไฟก็ลองถ่ายดูเลย รับรองว่าได้ภาพน่าประทับใจแน่นอน โดยเฉพาะมือถือรุ่นใหม่ๆ ก็มักจะถ่ายในที่มืดได้ดีขึ้นมากด้วย
3. หาเนื้อหาเด่นของภาพ บางทีเราเห็นวิวที่สวยงามและยิ่งใหญ่ก็อยากจะเก็บภาพไปเสียทั้งหมด แต่พอถ่ายภาพออกมากลับดูไม่เหมือนที่เห็นด้วยตาเปล่า ภาพดูว่าง ๆ โล่ง ๆ ไม่น่าสนใจเอาเสียเลยฉะนั้นแทนที่เราจะถ่ายแบบจะเก็บทุกอย่าง เราก็เปลี่ยนมาหาจุดเด่นในภาพดีกว่า นอกจากจะทำให้ภาพดูน่าสนใจแล้ว ยังสามารถบ่งบอกสถานที่ที่เราไปเยือนได้ดีกว่าอีกด้วย และถ้ากล้องมือถือมีปัญหาเรื่องการซูมเข้าไปหาเป้าหมาย เราก็ใช้วิธี CROP ภาพทีหลังก็ได้ เพราะกล้องเดี๋ยวนี้ความละเอียดค่อนข้างสูงมากทีเดียว เช่น GALAXY S6 ที่ 16 ล้าน หรือ IPHONE6 ที่ 8 ล้าน ถึงถ่ายมาแล้ว crop ก็ยังละเอียดพอจะลงได้สบายๆ
2. เทคนิคการถ่ายภาพด้วยมือถือสมาร์ทโฟน
1.ช่วงเวลานาทีทอง บางคนพยายามจะถ่ายภาพช่วงกลางวันที่แดดจัดๆ และเกิดความสงสัยมาตลอดว่า ทำไมภาพที่ถ่ายออกมาดูแข็งๆ แสงไม่สวยเลย ดูภาพไม่มีชีวิตชีวา ให้ลองเปลี่ยนเวลาถ่ายรูปโดยไปถ่ายช่วงเวลาก่อนที่พระอาทิตย์จะตกดิน หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกว่าตอนเย็นนั่นแหละ ถ้าเป็นในประเทศไทยก็คือราว ๆ 5 โมงเย็น ช่วงเวลานี้ ถ้าเป็นวันที่มีแดด แสงแดดจะนุ่มเนียนตามากกว่าเวลาอื่นๆ และเมื่อเราถ่ายรูปออกมา ภาพจะออกโทนเหลืองๆ แดงๆ คอนทราสของภาพก็จะสวยงามลงตัว เราเรียกเวลาช่วงนี้ว่า เวลาทอง Golden moment
2. ถ่ายช่วงทไวไลท์ ทไวไลท์คืออะไร ? มันคือช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตก หรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซักพักนึง ถ้าเป็นในประเทศไทย ก็อยู่ที่ราว 15-20 นาทีหลังจากพระอาทิตย์ตกนั่นเอง เคยสงสัยไหมว่าทำไมเวลาเราดูรูปของช่างภาพอาชีพหลายคน ท้องฟ้าในรูปมันเป็นสีฟ้า น้ำเงินสดใส แต่รูปของเราท้องฟ้ากลับดำมืด ทั้งๆ ที่เป็นกลางคืนเหมือนกัน คำตอบคือ เพราะเขาถ่ายในช่วงทไวไลท์นี่แหละ ในช่วงเวลาดังกล่าวสมดุลระหว่างแสงบนท้องฟ้าและแสงไฟในเมืองจะพอดี ทำให้เป็นช่วงที่ถ่ายได้สีสันสวยงามมากที่สุดของวัน ซึ่งช่วงดีที่สุดของทไวไลท์นั้นก็ขึ้นอยู่กับความสว่างของเมืองนั้นๆด้วย ฉะนั้นถ้าอยากถ่ายไฟเมืองแบบสวย ๆ ลองรอหลังพระอาทิตย์ตกดู พอเมืองเริ่มเปิดไฟก็ลองถ่ายดูเลย รับรองว่าได้ภาพน่าประทับใจแน่นอน โดยเฉพาะมือถือรุ่นใหม่ๆ ก็มักจะถ่ายในที่มืดได้ดีขึ้นมากด้วย
3. หาเนื้อหาเด่นของภาพ บางทีเราเห็นวิวที่สวยงามและยิ่งใหญ่ก็อยากจะเก็บภาพไปเสียทั้งหมด แต่พอถ่ายภาพออกมากลับดูไม่เหมือนที่เห็นด้วยตาเปล่า ภาพดูว่าง ๆ โล่ง ๆ ไม่น่าสนใจเอาเสียเลยฉะนั้นแทนที่เราจะถ่ายแบบจะเก็บทุกอย่าง เราก็เปลี่ยนมาหาจุดเด่นในภาพดีกว่า นอกจากจะทำให้ภาพดูน่าสนใจแล้ว ยังสามารถบ่งบอกสถานที่ที่เราไปเยือนได้ดีกว่าอีกด้วย และถ้ากล้องมือถือมีปัญหาเรื่องการซูมเข้าไปหาเป้าหมาย เราก็ใช้วิธี CROP ภาพทีหลังก็ได้ เพราะกล้องเดี๋ยวนี้ความละเอียดค่อนข้างสูงมากทีเดียว เช่น GALAXY S6 ที่ 16 ล้าน หรือ IPHONE6 ที่ 8 ล้าน ถึงถ่ายมาแล้ว crop ก็ยังละเอียดพอจะลงได้สบายๆ
4. เก็บเรื่องราว บางครั้งภาพที่ดูธรรมดาๆ แต่พอมีคนมาเดินในภาพ
กลับทำให้ภาพเกิดเรื่องราวขึ้นมาได้ ทั้งจาก การแต่งกาย ท่าทาง
หรือสายตาของคนเหล่านั้น ลองพยายามรวมคนหรือสัตว์เข้ามาในภาพดู
และพยายามจัดให้คนหรือสัตว์นั้นเป็นจุดสนใจของภาพ จะทำให้ภาพน่าสนใจมากขึ้นเยอะเลย
น่าดีใจที่การเก็บภาพคนและสัตว์ด้วยมือถือนั้นดูเป็นมิตรมากกว่าการแบกกล้องใหญ่ๆ
เข้าไปถ่าย แต่กระนั้นก็ตาม
การถ่ายภาพบุคคลแบบใกล้ชิดและดูจงใจก็ควรจะขออนุญาตแบบก่อนทุกครั้ง
5. มือต้องนิ่ง ปัญหาหลักเลยที่ทำให้ภาพดูไม่น่าประทับใจคือ มือเราดันไม่นิ่ง ยิ่งบางคนไม่ถนัดกับการถ่ายด้วยมือถือเอาซะเลย เพราะมันเล็กเกินไป ฉะนั้น เราต้องมาฝึกถ่ายให้มือนิ่งกัน โดยเริ่มจากลองกลั้นหายใจตอนจะกดถ่ายดูก่อน เพราะส่วนใหญ่จะนิ่งขึ้นพอสมควร หรือหากเป็นช่วงเย็นที่แสงไม่พอ ลองหาพื้นหรือผนังที่แข็งแรง แล้วเอามือถือไปพิงแล้วค่อยถ่าย จะลดอาการสั่นได้ดีทีเดียว หรือหากถึงที่สุดจริง ๆ ให้ใช้ขาตั้งเล็กๆ และตั้งเวลาถ่ายเอา คราวนี้ยังไงก็นิ่งแน่นอน
6. ฝึกจัดองค์ประกอบแบบง่ายๆไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็จัดองค์ประกอบแบบง่ายๆได้ โดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือกฎ 3 ส่วน แบ่งภาพออกเป็นตาราง โดยใช้เส้นแนวตั้งหรือนอน 3 เส้น และพยายามจัดองค์ประกอบให้อยู่ในเส้นเหล่านี้ ซึ่งพอเราใช้ทั้งเส้นแนวนอนและตั้งตีลงไปในรูป จะเกิดจุดตัดขึ้นมา เราเรียกว่าจุดตัดเก้าช่อง เราก็พยายามจุดสำคัญของภาพอยู่ที่จุดตัดทั้ง 4 ก็จะทำให้ภาพสวยขึ้นง่ายๆ
***แต่ กฎนี้ก็ไม่ได้ตายตัว เราสามารถหาวิธีอื่นๆ ที่ทำให้องค์ประกอบดูดีขึ้นมาได้อีกมากมาย แต่สำหรับผู้เริ่มต้นควรยึดหลักการนี้ไว้ก็จะช่วยเป็นการง่ายมากกว่า
7. พื้นอย่าเอียง เวลาที่เรามองภาพเราแล้วรู้สึกแปลกๆ ชอบกล ให้ดูก่อนเลยเป็นอันดับแรกว่าภาพตรงหรือเปล่า เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่สนใจกันเท่าไหร่เรื่องภาพเอียง เวลาถ่ายออกมาก็ไม่ได้ดูตรงนี้มากนัก แต่จริง ๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความรู้สึกของภาพทีเดียว ฉะนั้นพยายามถ่ายออกมาให้ภาพตรง พื้นตรง จะทำให้ภาพดูดีขึ้นมามากเลยเชียว
8. ใช้ APP แน่นอนถ้าใช้มือถือถ่าย การใช้ APP ก็เข้ามาช่วยได้อย่างง่ายดาย โดยการปรับหลาย ๆ อย่างที่เราว่ามาข้างต้น เช่น การจัดองค์ประกอบ การแก้พื้นเอียง หรือปรับแสงสีเล็กน้อย ก็สามารถทำได้ใน APP นี่แหละ และเราขอแนะนำ SNAPSEED APP ที่ใช้งานง่ายและฟรี สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างหลากหลาย ควรเก็บไว้ประจำเครื่องเลย
9. เรียนรู้มือถือตัวเองให้หมดทุกด้าน นักดาบที่ดีควรจะรู้จักดาบของตัวเองทุกซอกมุม ถ้าจะถ่ายภาพด้วยมือถือเราก็ต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน ไม่ว่าจะความละเอียดเท่าไหร่ ถ่ายแบบไหนได้บ้าง ซูมแล้วภาพแตกไหม ถ่ายในที่มืดดีหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งข้อจำกัด และตัวสร้างไอเดียใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพได้เสมอ ฉะนั้น ศึกษาอาวุธคู่กายของเราให้ดี และอย่าลืม … ทำความสะอาดเลนส์บ่อย ๆ ด้วยล่ะ เพราะบางคนถ่ายภาพออกมามัวตั้งเป็นปี แล้วนึกว่าเป็นที่กล้อง แต่ที่แท้ เลนส์มีรอยนิ้วมือนี่เอง …
4. ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี โทรศัพท์ 0-3635-7321
5. มือต้องนิ่ง ปัญหาหลักเลยที่ทำให้ภาพดูไม่น่าประทับใจคือ มือเราดันไม่นิ่ง ยิ่งบางคนไม่ถนัดกับการถ่ายด้วยมือถือเอาซะเลย เพราะมันเล็กเกินไป ฉะนั้น เราต้องมาฝึกถ่ายให้มือนิ่งกัน โดยเริ่มจากลองกลั้นหายใจตอนจะกดถ่ายดูก่อน เพราะส่วนใหญ่จะนิ่งขึ้นพอสมควร หรือหากเป็นช่วงเย็นที่แสงไม่พอ ลองหาพื้นหรือผนังที่แข็งแรง แล้วเอามือถือไปพิงแล้วค่อยถ่าย จะลดอาการสั่นได้ดีทีเดียว หรือหากถึงที่สุดจริง ๆ ให้ใช้ขาตั้งเล็กๆ และตั้งเวลาถ่ายเอา คราวนี้ยังไงก็นิ่งแน่นอน
6. ฝึกจัดองค์ประกอบแบบง่ายๆไม่ต้องเป็นมืออาชีพก็จัดองค์ประกอบแบบง่ายๆได้ โดยใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือกฎ 3 ส่วน แบ่งภาพออกเป็นตาราง โดยใช้เส้นแนวตั้งหรือนอน 3 เส้น และพยายามจัดองค์ประกอบให้อยู่ในเส้นเหล่านี้ ซึ่งพอเราใช้ทั้งเส้นแนวนอนและตั้งตีลงไปในรูป จะเกิดจุดตัดขึ้นมา เราเรียกว่าจุดตัดเก้าช่อง เราก็พยายามจุดสำคัญของภาพอยู่ที่จุดตัดทั้ง 4 ก็จะทำให้ภาพสวยขึ้นง่ายๆ
***แต่ กฎนี้ก็ไม่ได้ตายตัว เราสามารถหาวิธีอื่นๆ ที่ทำให้องค์ประกอบดูดีขึ้นมาได้อีกมากมาย แต่สำหรับผู้เริ่มต้นควรยึดหลักการนี้ไว้ก็จะช่วยเป็นการง่ายมากกว่า
7. พื้นอย่าเอียง เวลาที่เรามองภาพเราแล้วรู้สึกแปลกๆ ชอบกล ให้ดูก่อนเลยเป็นอันดับแรกว่าภาพตรงหรือเปล่า เพราะคนส่วนใหญ่จะไม่สนใจกันเท่าไหร่เรื่องภาพเอียง เวลาถ่ายออกมาก็ไม่ได้ดูตรงนี้มากนัก แต่จริง ๆ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความรู้สึกของภาพทีเดียว ฉะนั้นพยายามถ่ายออกมาให้ภาพตรง พื้นตรง จะทำให้ภาพดูดีขึ้นมามากเลยเชียว
8. ใช้ APP แน่นอนถ้าใช้มือถือถ่าย การใช้ APP ก็เข้ามาช่วยได้อย่างง่ายดาย โดยการปรับหลาย ๆ อย่างที่เราว่ามาข้างต้น เช่น การจัดองค์ประกอบ การแก้พื้นเอียง หรือปรับแสงสีเล็กน้อย ก็สามารถทำได้ใน APP นี่แหละ และเราขอแนะนำ SNAPSEED APP ที่ใช้งานง่ายและฟรี สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างหลากหลาย ควรเก็บไว้ประจำเครื่องเลย
9. เรียนรู้มือถือตัวเองให้หมดทุกด้าน นักดาบที่ดีควรจะรู้จักดาบของตัวเองทุกซอกมุม ถ้าจะถ่ายภาพด้วยมือถือเราก็ต้องรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับมัน ไม่ว่าจะความละเอียดเท่าไหร่ ถ่ายแบบไหนได้บ้าง ซูมแล้วภาพแตกไหม ถ่ายในที่มืดดีหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งข้อจำกัด และตัวสร้างไอเดียใหม่ ๆ ในการถ่ายภาพได้เสมอ ฉะนั้น ศึกษาอาวุธคู่กายของเราให้ดี และอย่าลืม … ทำความสะอาดเลนส์บ่อย ๆ ด้วยล่ะ เพราะบางคนถ่ายภาพออกมามัวตั้งเป็นปี แล้วนึกว่าเป็นที่กล้อง แต่ที่แท้ เลนส์มีรอยนิ้วมือนี่เอง …
4. ที่อยู่/เบอร์โทรศัพท์ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี โทรศัพท์ 0-3635-7321
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น